1413 จำนวนผู้เข้าชม |
สารเรืองแสงในสำลี คือสาร fluorescence ซึ่งมาจากกระบวนการฟอกขาวเพราะในการผลิตเส้นใยธรรมชาติ มักมีสารที่มีสีติดมาตามธรรมชาติ ทำให้เส้นใยมีสีออกเหลือง บางครั้งจึงจำเป็นต้องฟอกขาวเส้นใยเพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน [1]
ซึ่งสารฟอกขาว (optical brightening agent: OBA) หรือสารเพิ่มความขาวสว่าง สารเติมแต่งชนิดนี้เป็นสารสีย้อมประเภทเรืองแสง (fluorescent dye) [2] เมื่อใช้เช็ดทำความสะอาดผิว จะหลงเหลือสารตกค้างอยู่บนผิวหนัง จากการศึกษาพบว่าเมื่อสาร fluorescence ได้รับรังสี ultraviolet (UV) จากแสงแดด (ความยาวคลื่น 254 nm) อาจเหนี่ยวนำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่ผิวหนัง ทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
ดังนั้นเมื่อจะเลือกใช้สำลีเพื่อทำความสะอาดผิวหนัง ควรเลือกที่ไม่มีสารเรืองแสง ( fluorescence agent free ) นอกจากสำลีแล้ว ยังพบ fluorescence ซึ่งมาจากกระบวนการฟอกขาว เช่น ผ้าขาว กระดาษชำระ พลาสติก ยาสีฟัน โลชั่น ครีม เมื่อเติม fluorescent dye ลงไปจะช่วยให้มีความขาวสว่าง (brightness) เพิ่มมากขึ้น ฉะนั้นเมื่อใช้สารพวกนี้ควรอ่านฉลากให้ละเอียดก่อนใช้ และควรระมัดระวังในการใช้ [3]
เขียนโดย นศภ.ชวิศา ไชยมงคล/ภก.วิบุล วงศ์ภูวรักษ์
Reference
1 Available at :www.school.net.th/library/webcontest2003/.../indexb.htm
2 Available at: www.doubleapaper.com/knowing/paper_element
3 Falk HL; Bingham E. Interaction of Fluorescent Whitening Agents and Ultraviolet Radiation .
Allen Press on behalf of Royal Swedish Academy of Sciences Stable Vol. 2, No. 1/2 (1973), pp. 22-25